UV – VIS Spectrophotometer
เครื่องวัดปริมาณการดูดกลืนแสง

ด้วยเทคโนโลยีลำแสงคู่ ( Double-Beam Optical System Technology) ทำให้สามารถวัดค่าได้อย่างถูกต้องแม่นยำ ใช้งานง่าย สะดวก รวดเร็ว ขนาดกะทัดรัด ในราคาประหยัด

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม คุณพิมพรรณ 066-115-8131

APPLICATION & SOLUTIONS

ครอบคลุมการวิเคราะห์ที่หลากหลาย การใช้งาน ตั้งแต่การทดสอบด้านสิ่งแวดล้อม ด้านการควบคุมคุณภาพอาหาร ไปจนถึง life science ตัวอย่างเช่น เป็นเครื่องวัดสารฟอสฟอรัส, วัดปริมาณ Iron, เครื่องวัดค่าแอมโมเนีย, วิเคราะห์ปริมาณโปรตีน เป็นต้น

ด้านสิ่งแวดล้อม
  • วัดปริมาณสารแอมโมเนีย
  • วัดปริมาณของสารฟอสฟอรัสและสารไนโตรเจนในน้ำ
  • วัดปริมาณสารเคลือบโลหะ เช่น Hexavalent Chromium, aluminum, Nikel
  • วัดปริมาณสารโลหะหนัก เช่น เหล็ก, ทองแดง, สารหนู
ด้านอุตสาหกรรมอาหาร
  • วัดปริมาณสีผสมอาหาร
  • วัดปริมาณวิตามิน, แร่ธาตุ และสารปรุงแต่ง
  • วิเคราะห์ปริมาณโปรตีนและ DNA
ด้านอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์
  • วัดความโปร่งแสงของแผ่นฟิล์ม
  • วัดความหนาของแผ่นฟิล์ม
MAIN FEATURES :
  • สแกนความยาวคลื่นได้ตั้งแต่ 190-1100 nm ครอบคลุมตั้งแต่ช่วงความยาวคลื่น UV จนถึง Visible
  • มีความละเอียดสูงสุด Resolution 0.5 nm
  • สามารถเลือก spectral bandwidth ได้ถึง 5 แบบ ตั้งแต่ 0.5 nm, 1 nm, 2 nm, 4 nm หรือ 5 nm
  • Build-in validation functions : มีฟังก์ช่ันในการตรวจสอบแบบอัตโนมัติ เช่น การตรวจสอบ Wavelength accuracy, Wavelength repeatability, Spectral bandwidth, Noise level, Baseline drift และ Baseline Flatness
  • High-quality instrument : ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO 9000:2015 และมาตรฐาน GLP
  • สามารถใช้งานได้ทั้งแบบ stand-alone หรือ PC-controlled

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม คุณจริยา 06-6115-8047

HIGH RESOLUTION in its class

  • Spectral bandwidth ที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตั้งแต่ 0.5 nm, 1 nm, 2 nm, 4 nm หรือ 5 nm สามารถเลือกได้ตามความต้องการ
  • มี Czerny–Turner monochromator ที่ช่วยให้การผ่านของระบบทางแสง มีความละเอียดสูงสุดถึง 0.5 nm เพื่อให้ได้ spectrum คุณภาพสูง

HIGH ACCURACY by double-beam optical system technology

วัดค่าได้ถูกต้อง ค่าแม่นยำ ด้วยเทคโนโลยีลำแสงคู่

VARIOUS MODES for measurement

สามารถวัดวิเคราะห์ค่า ได้หลายรูปแบบ

Spectrum

สแกนหาความยาวคลื่นเพื่อระบุชนิด
ของสารที่อยู่ในตัวอย่าง

Quantification

ใช้ในการวิเคราะห์หาปริมาณสาร

Photometric

ใช้ในการวัดค่าการดูดกลืนแสง

Multiple Wavelengths

ใช้ในการวัดปริมาณสารที่ต้องการ
ตัดผลกระทบจากสารรบกวน

Multi-Component Quantitation

การวัดปริมาณสารประกอบในตัวอย่าง
โดยสามารถวัดได้ถึง 8 ชนิด ใน1 ตัวอย่าง

Kinetics

ใช้ในการวัดประสิทธิภาพการทำงานของ
เอนไซม์ (enzymatic activity)

ส่วนประกอบหลักของเครื่องยูวี-วิสิเบิล สเปกโตรโฟโตมิเตอร์

แหล่งกำเนิดแสง (light source)

แหล่งกำเนิดแสงในเครื่องสเปกโตรโฟโตมิเตอร์ (Spectrophotometer) จะต้องให้รังสีในช่วงความยาวคลื่นที่ต้องการอย่างต่อเนื่องและคงที่ตลอดเวลา รวมทั้งมีความเข้มแสงที่มากพอด้วย

สำหรับความยาวคลื่นในช่วงอัลตราไวโอเลตจะใช้หลอดดิวเทอเรียม (deuterium lamp) เป็นแหล่งกำเนิดแสง ซึ่งให้แสงในช่วง UV 185-375 nm หลักการคือทำให้อะตอมดิวเทอเรียมที่อยู่ในสภาวะเร้าคายพลังงานออกมา ส่วนหลอดทังสเตน (tungsten filament lamp) จะให้ความยาวคลื่นครอบคลุมช่วง Visible แสงที่มองเห็นได้ คือตั้งแต่ 320-2500 nm หลักการจะคล้ายกับหลอดไฟทังสเตนธรรมดาคือ ให้กระแสไฟฟ้าผ่านเข้าไปจนกระทั่งลวดทังสเตนร้อนและเปล่งรังสีออกมาโดยปกติจะเปิดเครื่องทิ้งไว้ก่อนใช้งานประมาณ 30 นาที เพื่อให้แน่ใจว่าหลอดดิวเทอเรียมหรือหลอดทังสเตนให้แสงที่มีความเข้มสม่ำเสมอ

หลอดดิวเทอเรียม

หลอดทังสเตน

ส่วนเลือกความยาวคลื่น (Monochromator)

เป็นส่วนที่ใช้แยกความยาวคลื่นที่ออกมาจากแหล่งกำเนิดแสง ซึ่งเป็นแสงที่มีหลายๆ ความยาวคลื่น (polychromatic wavelength) ให้เป็นแถบแสงในช่วงแคบๆ หรือ เป็นความยาวคลื่นเดี่ยว (monochromatic wavelength) เครื่องมือสมัยก่อนจะใช้ปริซึมหรือ ฟิลเตอร์สำหรับแยกความยาวคลื่น แต่ปัจจุบันเปลี่ยนมาใช้โมโนโครเมเตอร์ (monochromator) แบบเกรตติ้ง (grating) สะท้อนแสงซึ่งมีลักษณะเป็นร่องเล็กๆ ขนานกันจำนวนมาก แสงจากแหล่งกำเนิดแสงจะตกกระทบลงบนผิวหน้าของร่อง แล้วสะท้อนออกมาที่มุมต่างๆ เฉพาะความยาวคลื่นที่เราเลือกเท่านั้นจึงจะผ่าน ช่องแสงออก (exit slit) ไปสู่สารตัวอย่าง

ภาชนะใส่สารตัวอย่าง (cell หรือ cuvette)

ภาชนะใส่สารตัวอย่างสำหรับสเปกโตรโฟโตมิเตอร์จะเรียกว่า เซลล์หรือคิวเวทท์ (cuvette) มีหลายแบบหลายขนาดด้วยกันขึ้นกับการใช้งาน หลักสำคัญในการเลือกใช้ก็คือ การวัดในช่วงแสงUVจะต้องใช้เซลล์ที่ทำจากควอตซ์ (quartz) เท่านั้น เนื่องจากแก้วสามารถดูดกลืนแสงในช่วงUVได้ ส่วนเซลล์ที่ทำจากแก้วจะใช้วัดในช่วงแสงที่มองเห็นได้ นั่นหมายความว่าถ้าเราต้องการวัดสารในช่วงแสงที่มองเห็นได้ก็ควรจะใช้เซลล์ที่ทำจากแก้ว การใช้เซลล์ควอตซ์ไม่ได้มีผลให้การวัดแสงดีขึ้น แต่จะสิ้นเปลืองเปล่า ประโยชน์เพราะควอตซ์ราคาแพงกว่าแก้วมาก

ตัวตรวจจับสัญญาณ (detector)

เครื่องตรวจจับสัญญาณที่ดีต้องมีสภาพไวสูง คือแม้ปริมาณแสงจะเปลี่ยนไปเล็กน้อย ก็สามารถตรวจจับสัญญาณความแตกต่างได้ ปัจจุบันเครื่องสเปกโตรโฟโตมิเตอร์ส่วนใหญ่ นิยมใช้ตัวตรวจจับสัญญาณ 2 ชนิดคือ

1. หลอดโฟโตมัลติพลายเออร์ (photomultiplier tube; PMT)

หลอด PMT ประกอบไปด้วยแคโทด (cathode) ที่ฉาบผิวด้วยสารที่สามารถให้อิเล็กตรอนได้เมื่อถูกแสงจำนวน 9 ชุด เรียกว่า ไดโนด (dynode) แต่ละไดโนดจะมีศักย์ไฟฟ้าสูงขึ้นเรื่อยๆ เมื่อแสงตกกระทบกับไดโนดตัวที่หนึ่งสารที่ฉาบผิวจะเกิดอิเล็กตรอนขึ้น แล้ววิ่งไปกระทบไดโนดที่สอง สาม สี่ จนครบทั้งเก้าตัว

ดังนั้นปริมาณอิเล็กตรอนจะเพิ่มขึ้นถึง 10 – 10 เท่า แล้วจึงชนแอโนดให้กระแสไฟฟ้าออกมาเข้าเครื่องขยายสัญญาณต่อไป

ภาพตัดขวางของหลอด PMT

ลักษณะหลอด PMT ในสเปกโตรโฟโตมิเตอร์

2. โฟโตไดโอดอาร์เรย์ (photodiode arrays; PDA)

ตัวตรวจจับสัญญาณชนิดนี้สามารถจับสัญญาณได้ครอบคลุมทั้งสเปกตรัมโดยใช้ไดโอดนี้ มาเรียงต่อกันเป็นแถว ซึ่งสามารถวัดครอบคลุมสเปกตรัมได้ตั้งแต่ 200-1100 nm ตัวตรวจจับสัญญาณนี้ประกอบไปด้วยโฟโตไดโอดและตัวเก็บประจุ (capacitor) ประมาณ 200- 4000 ตัวเรียงต่อกันเป็นแถว หลักการเริ่มต้นด้วยการให้ประจุผ่านผิวหน้าไดโอด ซึ่งไดโอดก็จะเก็บประจุไว้ที่ตัวเก็บประจุ เมื่อแสงตกลงบนไดโอดจะทำให้เกิดประจุไฟฟ้าไปทำลายประจุที่เก็บไว้ที่ตัวเก็บประจุ ทำให้ต้องใส่ประจุเพิ่มเข้าไปใหม่ซึ่งเป็นช่วงของการสแกนแต่ละครั้งนั่นเอง ปริมาณของประจุที่ต้องใส่เข้าไปใหม่ จะเป็นปฏิภาคโดยตรงกับความเข้มแสงที่วัดได้ของแต่ละไดโอด ดังนั้นจากการวัดปริมาณแสงที่แตกต่างกันตลอดช่วงความยาวคลื่นจะได้เป็นสเปกตรัมการดูดกลืนของสารนั้นออกมา

สเปกโตรโพมิเตอร์ ที่มีไดโอดอาร์เรย์เป็นตัวตรวจจับสัญญาณ

ส่วนบันทึกและแปรผลสัญญาณ (recorder and processor)

ทำหน้าที่ขยายสัญญาณ และแปรผลสัญญาณให้ออกมาในมาตราส่วนแบบล็อก (log scale)